24 ม.ค. 2557

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)




ระบบกล้ามเนื้อ
                ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striatedmuscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletonmuscle)



ภาพกล้ามเนื้อลาย

                เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียสอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวางสีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสีคนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ โดยกล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตาช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆและยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้องตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ


2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiacmuscle)



ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
             
                กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต


3.กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle)


ภาพกล้ามเนื้อเรียบ

                กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ


คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ

-มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
-มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
-มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
-มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น
-มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ

การทำงานของกล้ามเนื้อ
                การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. แคลเซียมไอออน หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก
2. พลังงาน ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์
3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ
การทำงานของกล้ามเนื้อ ได้แก่
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัว
ของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว
2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะ
กล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อ
จะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว
การทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ
 กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing)

ตัวอย่างกล้ามเนื้อที่หน้าสนใจ
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)
* Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา
* External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
* Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง
                กล้ามเนื้อของแขนกล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก
(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก
(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ
(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ
                กล้ามเนื้อของขากล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็น
(1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus) มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
(2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา
(3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา
(4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า

โดยเมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonisticmuscle
มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
ไบเซพหรือ (Flexors)คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว»» แขนเหยียดออก
ไบเซพหรือ (Flexors)หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว»» แขนงอเข้า

แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (Bicep) หรือ (Flexors)
และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)


กล้ามเนื้อคือ ส่วนที่เป็นเนื้อของเรา กล้ามเนื้อแต่ละมัดประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อจำนวนมากรวมกันเป็นมัด ที่ปลายมัดคือ เอ็น ทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะสั้นลง กล้ามเนื้อทั้งมัดจะหดตัวลงดึงเอ็น ซึ่งจะดึงกระดูกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของนักกีฬา กล้ามเนื้อด้านหลังและด้านหน้าต้นขาหัวเข่างอและเหยียดตามลำดับ ขณะที่กล้ามเนื้อน่องและหน้าแข้งจะงอและเหยียดข้อเท้า ตามลำดับ



ที่มา   http://www.thaigoodview.com/node/32442

22 ม.ค. 2557

ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System)

อวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร และเส้นทางการเดินทางของอาหาร

การเดินทางของอาหาร

          เรากินอาหารเข้าไปทางปาก (Mouth) ภายในปากก็จะมีน้ำย่อยจากต่อมน้ำลาย (Salivary Glands) มาช่วยย่อย จากนั้นอาหารจะเดินทางผ่านหลอดอาหาร (Esophagus) ไปที่กระเพาะ (Stomach) และลงไปที่ลำไส้เล็ก (Small Intestines) ภายในลำไส้เล็กก็จะมีน้ำย่อยมาจากลำไส้เล็ก ตับ (Liver) ตับอ่อน (Pancreas) และถุงน้ำดี (Gall Bladder) จากนั้นอาหารก็จะไปที่ลำไส้ใหญ่ (Large Intestines) และออกไปเป็นของเสียทางลำไส้ตรง (Rectum) และทวารหนัก (Anus)

ปาก

          ภายในปากจะมีการย่อยสองแบบ คือ การย่อยเชิงกลโดยใช้ฟัน และเชิงเคมีที่ใช้น้ำย่อยจากต่อมน้ำลาย 
พื้นที่รับรสของลิ้น

ลิ้น

          ลิ้น ช่วยในการคลุกเคล้าและกลืนอาหาร ลิ้นจะมีปุ่รับรส (Taste Bud) ซึ่งทำหน้าที่รับรสต่างๆ (ลิ้นเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุด)

รสที่ลิ้นรับได้ (จากภาพ)
  • สีน้ำเงิน รับสารพิษ (รสขม) - Bitter
  • สีเหลือง รับกรด (รสเปรี้ยว) - Sour
  • สีเขียว รับโซเดียม (รเค็ม) - Salty
  • สีแดง รับน้ำตาล (รสหวาน) - Sweet
  • สีชมพูตรงกลาง รับกลูตาเมต (รสยูมามิ) - ผงชูรส

ฟัน

          ฟัน เป็นอวัยวะที่ช่วยในการบดเคี้ยว ฟันในมนุษย์แบ่งออกเป็นสองชุด
1. ฟันน้ำนม (deciduous teeth) มี 26 ซี่ ขึ้นตอนอายุ 6 เดือน ขึ้นครบเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง เริ่มหลุดเมื่ออายุ           6 ปี หลุดครบเมื่ออายุ 12 ปี
ฟันน้ำนม

2. ฟันแท้ (permanent teeth) มี 32 ซี่ ขึ้นตอนอายุ 6 ปี ขึ้นครบเมื่ออายุ 25 ปี [ฟันกราม 4 ซี่ สุดท้าย ถ้าไม่งอกขึ้นมาจะกลายเป็นฟันคุด]

ฟันแท้

โครงสร้างฟัน

          - Enamel (สารเคลือบฟัน) เป็นผิวหนังที่แข็งที่สุด เป็นแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นผิวหนังที่แข็งตัวขึ้นมาแทรกในขากรรไกร 
          - Dentin (เนื้อฟัน) เป็นหินปูน ส่วนที่เห็นเป็นฟันบิ่น เห็นฟันเป็นสีเหลืองก็คือส่วนนี้
          - Pulp (โพรงฟัน) มีเส้นเลือดเส้นประสาท
          - Cementum (ซีเมนตัม) เป็นส่วนที่ยึดฟันกับขากรรไกร
โครงสร้างฟัน

ต่อมน้ำลาย

          ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) เป็นต่อมที่สร้าง น้ำลาย (saliva) ซึ่งมีน้ำย่อย ptyalin หรือ amylase สารอาหารที่ถูกย่อย คือ แป้ง และ glycogen ให้กลายเป็น dextrin (กลูโคสต่อกัน 10 โมเลกุล) และ maltose (กลูโคสต่อกัน 2 ต่อกัน) ต่อมน้ำลายมีสามที่ ได้แก่
     1.Parotid gland พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใสชนิดเดียว
     2.Submaxillary gland หรือ Submandibular gland พบได้ที่บริเวณขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดใสจะมากกว่า เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายได้มากที่สุด
     3.Sublingual gland ขนาดเล็กที่สุด พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียว และ ใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า
ต่อมน้ำลาย
อาหารประเภทต่างๆที่เราบริโภคโดยเฉพาะสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือคาร์โบไฮเดรตโปรตีน
และไขมันล้วนแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลำเลียงเข้าสู่เซลล์ส่วนต่างๆของร่างกายได้ ยกเว้นวิตามิน
และเกลือแร่ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็กจึงจำเป็นต้องมีอวัยวะและกลไกการทำงานต่างๆที่จะทำให้
โมเลกุลของสารอาหาร เหล่านั้นมีขนาดเล็กลงจนสามารถลำเลียงเข้าสู่เซลล์ได้ เรียกว่า “ การย่อย ”
    


การย่อยอาหาร (Digestion)
หมายถึง  การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่ง
แพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
     1. การย่อยเชิงกล    คือการบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลทำให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง
     2. การย่อยเชิงเคมี   คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของสารอาหารเกิดการเปลียนแปลงทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง



:: อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน ::

::1. อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร::

     1.1 ตับ     มีหน้ามี่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี
     1.2 ตับอ่อน      มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
     1.3 ลำไส้เล็ก     สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็คเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
:: เอนไซม์(Enzyme) :: 
  เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีในร่างกาย เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า “ น้ำย่อย ”เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
  • เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
  • ช่วยเร่งปฎิกิริยาในการย่อยอาหารให้เร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฎิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้เร่งปฎิกิริยา
    โมเลกุลอื่นได้อีก
  • มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฎิกิริยาชนิดหนึ่งๆ
  • เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
:: ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ได้แก ่::
  1. อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
    ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
  2. ความเป็นกรด - เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินในกระเพาะอาหารเอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
  3. ความเข้ม เอนไซม์ที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์ จำแนกได้ดังนี้
  1. เอนไซม์ในน้ำลาย     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อยเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของ
    น้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  2. เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรดและที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
  3. เอนไซม์ในลำไส้เล็ก     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสและอุรภูมิปกติร่างกาย
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด ดังนี้ 

คาร์โบไฮเดรตกลูโคส  
โปรตีนกรดอะมิโน   
ไขมันกรดไขมันและกลีเซอรอล
ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะ ดังต่อไปนี้ 
:: 2. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ::
ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหารโดยเริ่มจาก
ปาก  คอหอย หลอดอาหาร   กระเพาะ   ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่   ทวารหนัก ดังรูป    
    

เมื่อรับประทานอาหารอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารเพื่อเกิดการย่อยตามลำดับดังต่อไปนี้     

2.1 ปาก ( mouth)     มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส
หรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย
แป้ง      น้ำตาลมอลโตส (maltose)




ต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่ ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ     1 – 1.5 ลิตร 

  2.2 คอหอย (pharynx)   
 เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น

  2.3 หลอดอาหาร(esophagus) 
มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบมีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
ทางเดินอาห าร เป็นช่วงๆ เรียกว่า “ เพอริสตัสซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร
   


2.4 กระเพาะอาหาร(stomach)   
มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อย
ทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด

   โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบ
เอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า
“ เรนนิน '' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า

เพปซิน
               
โปรตีน  
    เพปไทด์
สรุป    การย่อยที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.5 ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่
  1. มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส
  2. ซูเครส (sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ
    ฟรักโทส (fructose)
  3. แล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)    
         การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) มาช่วยย่อย เช่น
  • ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
  •  อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
  • ไลเปส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล    
:: น้ำดี (bile) ::      
เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน น้ำดีจะทำหน้าที่ย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลงแล้วน้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์  
  
สรุป การย่อยสารอาหารประเภทต่างๆในลำไส้เล็ก 

คาร์โบไฮเดรต
แป้ง
อะไมเลส
มอลโทส
มอลโทส
มอลเทส
กลูโคส + กลูโคส
ซูโครส
ซูเครส
กลูโคส + ฟรักโทส
แล็กโทส
ทริปซิน
กลูโคส + กาแล็กโทส

โปรตีน
เพปไทด์
ทริปซิน
กรดอะมิโน

ไขมัน
ไขมัน – น้ำดี
ย่อยโมเลกุลของไขมันขนาดเล็ก
ไลเพส
กรดไขมัน + กลีเซอรอล
      
 อาหารเมื่อถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยโครงสร้างที่เรียกว่า “ วิลลัส ( villus)”
ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจากผนังลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เพิ่มเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร
2.6 ลำไส้ใหญ่ (large intestine ) ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหารและดูดซึมน้ำออกจาก
กากอาหาร ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร


ที่มา : โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีวิวทยา เล่ม 3.
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson1.php
 

ระบบอวัยวะ (Body System)

          หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือ เซลล์ (Cell) และเซลล์แต่ละเซลล์ก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเซลล์ที่ทำหน้าที่เหมือนกันมารวมกลุ่มกันก็จะกลายเป็น เนื้อเยื่อ (Tissue) เนื้อเยื่อพิเศษต่างๆ มาทำงานร่วมกันก็จะกลายเป็น อวัยวะ (Organ) และอวัยวะเหล่านี้ที่ทำงานสัมพันธ์กันก็จะถูกเรียกว่า ระบบอวัยวะ (Body System หรือ Organ System)

ระบบอวัยวะต่างๆ

การทำงานของระบบภายในร่างกาย อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ ดังนี้
1. ระบบผิวหนัง (Intergumentary System) 
ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) 
ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
3. ระบบโครงกระดูก (Skeletal System)
ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย
4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System)
ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
5. ระบบหายใจ (Respiratory System) 
ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายในออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส
6. ระบบประสาท (Nervous System) 
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
7. ระบบต่อมต่าง ๆ (glands System) 
ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย
8. ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) 
ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
9. ระบบขับถ่าย (Excretory System) 
ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกจากร่างกาย
10. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) 
ทำหน้าที่สืบทอด ดำรงและขยายเผ่าพันธุ์ ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธ์

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ระบบอวัยวะ