5 ก.พ. 2557

ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory System)

หัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือ
พลาสมา (plasma)”และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
      ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามินและ
สารอาหารประเภทต่างๆที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
2. เซลล์เม็ดเลือด ประกอบด้วย
2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell)

       มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน ( คล้ายขนมโดนัท ) เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่
เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า “ ฮีโมโกลบิน ” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
     หน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ปอด
     แหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุ
ประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม     
2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell)
      มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสีและมีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
      หน้าที่ ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย
      แหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน
3. เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด (blood pletelet)
      ไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ซึ่งมีรุปร่างกลมรีและแบนเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ4วัน
      หน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลของเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
::หัวใจ (Heart)::   

หัวใจ (Heart) ทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง
เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง




::วงจรการไหลเวียนเลือด::     
     วงจรการไหลเวียนเลือด เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจ
ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง
หรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อ
แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไป

การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจ


การไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
                             

::หลอดเลือด ::

     หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ    
หลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด     
1. หลอดเลือดแดง (artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายหลอดเลือดแดงมี
ผนังหนาแข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง
หรือเรียกว่า “ เลือดแดง ”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า “ เลือดดำ ”
     2. หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
     3. หลอดเลือดฝอย (capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
::::

    ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจ
ที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็น
มิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ
  • ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
    เรียกว่า 
    ความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure)
  • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    เรียกว่า
     ความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)
     เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “ มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)'' โดยจะวัด
ความดันที่หลอดเลือดแดง
     ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจ
รับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
หลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อ
การบีบตัวของหัวใจโดยตรง
     ชีพจร หมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้นเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
  1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
  2. เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือด
    ค่อนข้างสูง
  3. ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
  4. อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
  5. คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง
ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson2.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น