5 ก.พ. 2557

ระบบโครงกระดูก (Skeletal system)

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายทำงานสัมพันธ์กันโดยที่โครงกระดูกเป็นโครงสร้างที่ใช้ค้ำจุนร่างกาย ให้คงรูปร่าง ป้องกันส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย และช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อ
ระบบโครงกระดูก

ระบบกระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วย โครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
  1. ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้
  2. ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น
  3. เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่
  4. สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
  5. เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส
กระดูกของคนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กระดูกแกน (Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย
1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull) ภายในกะโหลกศีรษะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง จะมีกระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมองด้วย
1.2 กระดูกสันหลัง (Vertebra) เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย กระดูกสันหลังเป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc)”ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้าแผ่นกระดูกอ่อนนี้เสื่อมเราจะปวดหลังและไม่สามารถบิดหรือเอียงตัวได้
1.3 กระดูกซี่โครง (Ribe) มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงให้ส่วนอก กระดูกซี่โครงจะเชื่อมกบกระดูกอก (Sternum) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบในการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดนี้สลับกันเกิดการเคลื่อนที่เข้า ออกของอากาศภายนอกและภายในช่องอกมีผลทำให้กระดุกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและลง และทำให้ปริมาตรภายในช่องอกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
2. กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึงโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกกระดูกแกนซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของแขน ขา โดยตรง รวมทั้งกระดูกสะบักและกระดูกเชิงกรานที่เป้นฐานรองกระดูกแขนและกระดูกขา
กระดูกแขนเริ่มแต่บริเวณไหล่ มีกระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าทำหน้าที่เป็นฐานรองแขน เชื่อมโยงระหว่างกระดูกสันหลังด้านบนของลำตัวกับกระดูกต้นแขนกระดูกขาเริ่มตั้งแต่บริเวณเชิงกรานที่ต่อกับกระดูกต้นขา และจากกระดูกต้นขา มีสะบ้าหัวเข่าที่ฝังอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อและต่อกับกระดูกแข็ง

ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูกข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมต่อกันโดยมีเอ็นละกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น






ที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/home.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น